Tuesday, August 31, 2010

Elliott wave+Rsi anylysis by 9professionaltrader

EUR/USD 4 Hours (อียูสี่ชั่วโมง)
Update ตลาดเมกา ถ้าราคาไม่สามารถผ่านเส้น Resistance Trendline ไปได้ ราคายังคงลงต่อ
ถ้าราคาผ่านได้จะไปที่ 1.2776
ถ้าผ่านไม่ได้ จะกลับมาทดสอบ Low อีกครั้ง


EUR/USD เคลื่อนตัวลงมาเรื่อยๆ หลังจากช่วงเช้าของวันจันทร์ขึ้นไปทดสอบเทรนไลน์ แต่ไม่สามารถผ่านได้ ตอนนี้ราคาจะลงมาทดสอบ Low 1.2587 ถ้าผ่านได้ จะไปที่ จุด D 1.2470 ถึง 1.2431 ช่วงนี้ตลาด Forex ผันผวน ระวังหน่อยนะครับ
แนวต้านอยู่ที่ Resistance Trendline ด้านบนที่ผมได้ขีดไว้ ถ้าไม่สามารถผ่านได้ ก็ Sell ได้ครับ

Technical Analysis by 9professionaltrader
EUR/USD 4 Hours (อียูสี่ชั่วโมง)

วันนี้วิเคราะห์ EUR/USD โดยเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้อิเลียตเวฟ(Elliott wave) และอาเอสไอ Relative Strength Index(Rsi)
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว อียู (EUR/USD) ผันผวนมาก หลังจากที่ราคาได้ลงมาคลื่นเอ (wave a )สีขาว และราคาได้ไต่ระดับขึ้นไปอีกครั้ง
ถ้าราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม (Resistance Trendline) ขึ้นไปได้ ราคาจะไปที่ Wave b แต่ถ้าไม่สามารถผ่านไปได้ ราคาจะกลับลงมาอีกครั้ง

Eur/USD analysis By 9professionaltrader

คำแนะนำ ให้รอจนกว่า อาเอสไอ (RSI) จะขึ้นถึงจุด OB( Over Bought) แล้วหักลง ราคาจะลงมาอีกครั้ง
อาทิตย์นี้ตลาด Forex น่าจะผันผวนนะครับ เพราะว่าเป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนและคาบเกี่ยวกับสัปดาห์แรกของเดือน ซึ่งมีข่าวนอนฟาร์ม NFP (Non Farm Payroll) อัตราของคนว่างงานและการจ้างงานของ สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์นี้ และ ยังมีข่าวดอกเบี้ยของยุโรป (EUR) ในวันพฤหัสบดี ยังไงก็ระวังนะครับ เด๋วอาทิตย์นี้ผมจะเขียนบทความเรื่องการเทรดข่าวนอนฟาม (Trading on Non-farm) ให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากันเพื่อเอาไว้เทรดกับข่าวนอนฟาร์ม NFP

Monday, August 30, 2010

มาเทรดForex ด้วยเงิน 10 $ ให้เป็นเงิน 1000 $ กันดีกว่าครับ(สัปดาห์ ที่ 1)

มาเทรดForex ด้วยเงิน 10 $ (300 กว่าบาท) ให้เป็นเงิน 1000 $ กันดีกว่าครับ
สำหรับคนทุนน้อย ผมเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ มาเทรดด้วยเงิน 10 เหรียญกันครับ จะเปิดบัญชีไหนก็ได้ครับ
สำหรับคนที่ท้อแล้วอยากเริ่มต้นใหม่ ขอให้กระทู้นี้เป็นอีกหนึ่งแรงใจ ให้สู้ต่อไปครับ
มาดูกันว่า 9professionaltrader จะสามารถทำได้หรือไม่ ติดตามกันนะครับ
รายละเอียด
Deposit ด้วยเงิน 10 เหรียญ เมื่อวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2010
Broker : www.exness.com
Account type : Mini Account
Leverage : 1:1000
ทศนิยม : 5 ต่ำแหน่ง
Trade with Currency pair : Eur/Usd , Gbp/Usd , Eur/Jpy และ Gbp/Jpy
Mininum Spread : EU 0.8- 1.2 pips, GU 1.5-2.2 pips ,EJ 2.0-3.0 pips และ GJ 2.3-4.3 pips
สาเหตที่เลือกโบรกนี้ เพราะ เทรดง่าย เสปรดน้อย และที่สำคัญที่สุดคือ Automatic withdrawal ( แต่บางครั้งก็ไม่อัตโนมัติ แต่รอไม่เกิน 1 ชั่วโมง ) เสาร์ อาทิตย์ถอนเงินได้ (ลองแล้ว ) ซัพพอร์ต ตอบเร็วดี และมี Internal transfer ( แต่ต้องเป็นบัญชีของเราเท่านั้น ไม่สามารถโอนให้บุคคลที่สาม)

ปัญหาและอุปสรรค
-ในบางครั้งที่มีข่าว ราคาอาจจะหยุด หรือไม่สามารถเชื่อมต่อกับโบรกเกอร์ได้ แต่ปัญหานี้เกิดขึ้นกับทุกโบรกเกอร์ ซึ่้งมันเป็นกลยุทธิ์ที่ทางโบรกเกอร์ต้องมีอยู่แล้ว
- จะถามตอนสั่งปิด หลายๆครั้ง อันนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วเนต และความเคลื่อนไหวของราคา

เปิดบัญชี
1. ถ้าต้องการให้ 9professionaltrader ได้ค่าคอมมิสชั่นจากการเทรดของคุณ กดลิ้งนี้ www.exness.com/a/4614
2. ถ้าไม่ต้องการให้ 9professionaltrader ได้ค่าคอมมิสชั่นจากการเทรดของคุณกดลิ้งนี้ หรือ copy ลิ้งนี้ไป
www.exness.com

* Commission คือ เมื่อเพื่อนๆเทรดในแต่ละครั้งและทำการปิดออเดอร์ จะมีค่าคอมมิชชั่นจากการเทรดของเพือ่นๆ มาที่ ผม ทางเอ็กเนส ให้ 50 % ของ Spread ณ ขณะนั้น **
**สมมติว่าเพื่อนๆเทรด EUR/USD ซึ่งสเปรดตอนนั้น 1.0 pips ผมจะได้ 0.5 pips ถ้าเทรด 0.01 lot (10เหรียญ) จะมีค่าคอมมาที่บัญชีของผม 0.05 $
** เพื่อนๆสามารถนำ Referal link ไปแนะนำเพื่อนๆ ได้ เพื่อรับรายได้อีกทาง อย่าแนะนำพวกเขาอย่างเดียวจะ ต้องสอนให้พวกเขารู้จักฟอเร็กก่อน ต้องสอนวิธีทำกำไรให้พวกเขาด้วย ถ้าคนที่เราแนะนำ สามารถเทรดมีกำไรจากฟอเร็กซ์ ตลอด เราก็มีรายได้จากการเทรดของพวกเขาตลอด ***
สามารถสอบถามเกี่ยวกับ Partner ของโบรกเกอร์ได้ครับ

** ผลงานการเทรดจาก 10 ดอล จะ Update ทุกวันนะครับ **
30/08/2010 (วันแรก)


31/08/2010

www.9professionaltrader.blogspot.com

Sunday, August 29, 2010

Elliott wave+Rsi anylysis by 9professionaltrader

EUR/USD 4 Hours (อียูสี่ชั่วโมง)

วันนี้วิเคราะห์ EUR/USD โดยเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้อิเลียตเวฟ(Elliott wave) และอาเอสไอ Relative Strength Index(Rsi)
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว อียู (EUR/USD) ผันผวนมาก หลังจากที่ราคาได้ลงมาคลื่นเอ (wave a )สีขาว และราคาได้ไต่ระดับขึ้นไปอีกครั้ง
ถ้าราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม (Resistance Trendline) ขึ้นไปได้ ราคาจะไปที่ Wave b แต่ถ้าไม่สามารถผ่านไปได้ ราคาจะกลับลงมาอีกครั้ง

Eur/USD analysis By 9professionaltrader

คำแนะนำ ให้รอจนกว่า อาเอสไอ (RSI) จะขึ้นถึงจุด OB( Over Bought) แล้วหักลง ราคาจะลงมาอีกครั้ง
อาทิตย์นี้ตลาด Forex น่าจะผันผวนนะครับ เพราะว่าเป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนและคาบเกี่ยวกับสัปดาห์แรกของเดือน ซึ่งมีข่าวนอนฟาร์ม NFP (Non Farm Payroll) อัตราของคนว่างงานและการจ้างงานของ สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์นี้ และ ยังมีข่าวดอกเบี้ยของยุโรป (EUR) ในวันพฤหัสบดี ยังไงก็ระวังนะครับ เด๋วอาทิตย์นี้ผมจะเขียนบทความเรื่องการเทรดข่าวนอนฟาม (Trading on Non-farm) ให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากันเพื่อเอาไว้เทรดกับข่าวนอนฟาร์ม NFP

FBS Broker แจกเงินฟรี 5 เหรียญ สำหรับ Micro Account

แจกฟรี... แจกฟรี.. FBS Broker แจกเงินฟรี 5 เหรียญ สำหรับ Micro Account



โบรกเกอร์ www.FBS.com แจกเงินฟรี 5 เหรียญ สำหรับ Micro Account มีขั้นตอนดังนี้

1.เปิดบัญชีเทรด ได้ที่นี่ >>> www.FBS.com
2.จากนั้น หาป้าย คำว่า Try out FBS Advancetages Free Bonus 5 $
FBS Get Bonus 5$3. เมื่ออ่านเงื่อนไขจบแล้ว ก็ทำการเปิดบัญชีเทรด โดยหาคำว่า Open Account เมนูด้านซ้ายมือ
4.เลือก Open "Micro" Account5. ติํกที่ช่อง Client Agreement จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่าง ใส่ข้อมูลส่วนตัวลงไปให้ครบถ้วน ตรวจสอบดูความเรียบร้อย จากนั้น ก็ คลิกที่ Open Account เป็นอันเสร็จพิธี

วิธีรับเงินฟรี 5 $ (How to get Free bonus From FBS Broker)
นี่เป็นวีดีโอครับ


1. ทำการ Down Load MT4 ก่อน คลิกที่นี่ MT4
เมื่อดาวโหลดเสร็จแล้ว ทำการติดตั้ง Run ....Next ... Next ... ไปเรื่อย จน Finish

2. จากนั้นทำการดาวโหลด Script Get Bonus 5 $ คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลด SCript Get 5 $
เมื่อดาวโหลดเสร็จแล้วทำการติดตั้งให้เรียบร้อย

3. พอติดตั้ง ทั้งสองตัวเสร็จ ให้เปิดโปรแกรม MT4 >> FBS Trader 4 ที่ได้ติดตั้งไว้หรือถ้าเปิดอยู่แล้ว ให้คลิก Cancel แล้วก็ใส่ระหัสLog in และ Password ที่เราได้เก็บไว้





6. เมื่อ Log in แล้ว เข้าไปที่ Tools >>> Options >>>Expert Advisors แล้ว ติ๊กตามภาพด้านล่าง เมื่อทำตามภาพแล้วกดปุ่ม OK





7. ปิดกราฟทั้งหมด 4 กราฟ แล้วไปคลิกขวาที่ช่องค่าเงิน EUR/USD แล้วเลือก Chart Window คลิกขยายให้พอดีกับจอ ดังรูป



8. สังเกตที่ช่องด้านซ้ายจะมีคำว่า Scripts จากนั้นกดคำว่า Scripts แล้วจะเจอ _GET 5$ Bonus ลาก _Get 5$ Bonus ไปใส่กราฟได้เลย เมื่อลากไปใส่เสร็จจะขึ้น Connecting to the server เพียงเท่านี้เราก็ได้รับโบนัส 5 $ แล้ว




สำหรับ Account Micro ของ FBS นี้ มีแค่ 5 $ ลงขั้นต่ำ 0.01 lot จุดละ 10 Cent เท่ากับว่า มันวิ่งได้แค่ 50 จุด เราจะโดนตัดพอร์ตทันที เพราะฉะนั้น ต้องรอจังหวะดีๆนะครับ ถ้าเล่นสั้นก็ Stop loss ซัก 5-10 ก็พอครับ
โชคดีร่ำรวยกันทุกคนครับ ผมก็สมัครไปเหมือนกัน เด๋วจะเอาผลงานมาให้ดูทุกวัน ติดตามชมนะครับ ^_^

Saturday, August 28, 2010

Ichimoku คือ

การใช้ Ichimoku



เนื่องจาก Ichimoku มันมีส่วนประกอบย่อยๆหลายเส้น ผมจึงแยกเขียนออกมาเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้เพื่อนๆทุกคนได้เข้าใจหลักการณ์ของเส้นแต่ละเส้นของ Ichimoku โดยเขียนไว้ตั้งแต่หัวข้อที่ 1-5 ดังนี้
part 1: หลักการทั่วไปของ Senkou span ใน Ichimoku
part 2: หลักการทั่้วไปของ Tenkan sen ใน Ichimoku
part 3: หลักการทั่วไปของ kijun sen ใน Ichimoku
part 4: หลักการทั่วไปของ Tenkan sen VS. Kijun sen เมื่อสองเส้นนี้มันตัดกัน
part 5: หลักการทั่วไปของ Chinkou span ใน Ichimoku
การ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Ichimoku ก่อนอื่นเราต้องจำชื่อแต่ละเส้นให้ได้ก่อนนะครับ ว่ามันมีลักษณะยังไง มีหลักการแบบไหน เมื่อมันอยู่รวมกันเราจะได้วิเคราะห์ถูก ว่าเส้นนี้คือเส้นอะไร มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อทุกเส้นมารวมกันจะได้กราฟดังนี้
Ichimoku

การเข้า Buy
1.เมื่อ Tenkan sen ตัด Kijun sen ขึ้นไป แล้วแท่งเทียนยืนอยู่เหนือ เส้นทั้งสอง
2. Tenkan sen , Kijun sen , และแท่งเทียน ต้องอยู่บน Senkou Span (kumo หรือ Cloud)
3. Chinkou span ตัด แท่งเทียนในอดีตขึ้นมา
Ex.1
Ichimokuอีกหนึ่งความลับของ Ichimoku ก็คือ การดูสัญญาณยืนยัน (Confirmation signal ) เราสามารถดูได้จาก เส้น chinkou span
- ราคามีการดีดกลับ จากขาลงกลายเป็นขาขึ้น แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะขึ้นจริงหรือหลอก จุดสังเกตแรกที่จะสามารถบอกเราได้ว่ามันกำลังจะขึ้นก็คือ * จุดที่ Chinkou span ( Lagging line ) ตัดแท่งเทียน แล้วก็ตัด Senkou span A ขึ้นไป ดังรูป

Ichimoku

จุดยืนยันที่สองคือ Chinkou span ตัด Senkou span B ขึ้นไป ดังรูป
Ichimoku

การเข้า Sell ก็ทำตรงข้ามกับ Buy นะครับ
Ex. การเข้า Sell
Ichimoku

ผม หวังว่าบทความที่ผมได้เขียนคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆชาวเทรดเดอร์ ทุกคนนะครับ เพื่อนๆสามารถนำ Ichimoku ไปประยุกต์กับ Indicators ต่างได้นะครับ ถ้าเพื่อนๆคนใดได้นำ Ichimoku ไปประยุกต์ใช้ กับ Indicators ตัวอื่นๆแล้วได้ผลดี และมีความประสงค์อยากจะแบ่งปันวิธีของตน ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธิ์นั้นๆมาที่ pipsrunner9@gmail.com นะครับ ผมจะบันทึกลง Blog ของผมเพื่อเผยแพร่ต่อไปครับ

สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับ Ichimoku เพื่อนๆสามารถติดตามได้ที่ หมวดหมู่ของบทความ ในหัวข้อ

http://9professionaltrader.blogspot.com/search/label/Ichimoku

นะครับ

การใช้ Ichimoku

Ichimoku คือ

Senkou Span เป็นส่วนประกอบของ Ichimoku ซึ่ง Senkou Span จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ Senkou Span A และ Senkou Span B Senkou Span ไม่ได้บอกแนวโน้มในอนาคต แต่ Senkou Span จะถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา ดังรูป

เราจะเห็นว่า Senkou Span ถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา เส้นสีเหลืองคือ Senkou Span A และเส้นสีขาวคือ Senkou Span B
เส้นประที่อยู่ระหว่าง Senkou Span ทั้งสองเส้น เราจะเรียกกว่า ก้อนเมฆ (Cloud ) หรือเรียกว่า Kumo
Kumo เปรียบเสมือนจุดสมดุลของกราฟ เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo มันจะสะสมพลังเพื่อไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง ดังรูปด้านล่าง

เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo เราต้องรอจนกว่าราคาจะทะลุทางใดทางหนึ่ง ถ้าราคาทะลุ Kumo ขึ้นไปด้านบน ให้ Long (Buy )
และถ้าราคาทะลุ Kumo ลงไปด้านล่าง ให้ Short (sell)



เมื่อ Senkou Span เป็น Flat ราบเรียบขนานไปกับพื้นเป็นเส้นตรงยาวๆ หมายความว่า เส้น Senkou Span จะกลายเป็น แนวรับ/แนวต้านในทันที
Ex.1

Ex.2


กฎทั่วไปของ Kumo (Senkou Span)
ถ้า Senkou Span A อยู่สูงกว่า Senkou Span B ,ให้ Long (buy )
ถ้า Senkou Span A อยู่ต่ำกว่า Senkou Span B , ให้ Short(Sell)
ถ้า Kumo กลายเป็น Flat มันจะกลายเป็นแนวรับแนวต้านที่ดี
ถ้า ราคาอยู่เหนือ Kumo ให้ Long (Buy)
ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่า Kumo ให้ Short (Sell)
คำ แนะนำนะครับ การดูแนวรับแนวต้านจาก Senkou Span (Kumo) เราต้องเปลี่ยนช่วงเวลาเพื่อหา แนวรับแนวต้านจาก Senkou Span เราสามารถดูแนวรับแนวต้านจากกราฟ 5 m , 15 m , 30 m , 1H , 4H ,Daily
ตัวอย่าง เช่น เมื่อเราดูกราฟ 5 นาทีของ GBP/USD เราจะพบว่าราคามันได้ทะลุ Kumo ขึ้นมา แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ราคาจะหยุดตรงไหน ดังรูป


ดัง นั้นเราควรจะเปลี่ยนช่วงเวลา Time Frame ที่สูงกว่า TimeFrame เดิม จากตัวอย่างผมเปิดกราฟ 30 นาที เพื่อหาแนวต้านและคาดการณ์ว่าราคาจะหยุดตรงนี้ดังรูป กราฟ GBP/USD 30 นาที


-ดู จุดกลับตัวจากจุดตัดของ Senkou Span เมื่อราคาได้ทะลุ Kumo(จุดที่ 1) ขึ้นไปแล้ว Senkou Span ทั้งสองเส้นตัดกันขึ้นไป ราคาขึ้นไปทำยอด แล้วราคามีการดีดตัวลงมา ถ้าราคาดีดตัวลงมาบริเวณจุดตัดของ Senkou Span (จุดที่ 2 ) ดังรูปด้านล่าง

เมื่อมีแท่งเทียนกลับตัวตรงจุดตัดของ Senkou Span(จุดที่ 2) ให้หาจังหวะ Buy ทันที
สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับ Ichimoku เพื่อนๆสามารถติดตามได้ที่ หมวดหมู่ของบทความ ในหัวข้อ http://9professionaltrader.blogspot.com/search/label/Ichimoku นะครับ

Friday, August 27, 2010

สารบัญบทความทั้งหมดของ Blog 9professionaltrader.blogspot.com


เพื่อนๆสามารถเลือกอ่านบทความต่างๆใน บล๊อค www.9professionaltrader.blogspot.comได้เลยครับ มีหลายหัวข้อให้เลือก ถ้าไม่เข้าใจในบทความไหน เพื่อนๆสามารถถามได้นะครับ ผมจะพยายามหาคำตอบมาให้ หรือหากใครมีข้อสงสัยเรื่องอะไร ก็สามารถถามมาได้ ยินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาครับ ฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย ^_^
ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่แวะเวียนมาที่ www.9professionaltrader.blogspot.com นะครับ
ดูบทความข้างล่างนี้ทั้งหมดได้ที่ http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/all-blog-post.html


สารบัญบทความทั้งหมดของ Blog


เพื่อนๆสามารถเลือกอ่านบทความต่างๆใน บล๊อคนี้ได้เลยครับ มีหลายหัวข้อให้เลือก ถ้าไม่เข้าใจในบทความไหน เพื่อนๆสามารถถามได้นะครับ ผมจะพยายามหาคำตอบมาให้ หรือหากใครมีข้อสงสัยเรื่องอะไร ก็สามารถถามมาได้ ยินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาครับ ฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย ^_^
ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่แวะเวียนมาที่ Blog นะครับ



ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 2

ทฤษฎีดาว(Dow Theory)


ทฤษฎีดาว (Dow Theory)เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงข้อความจากบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ "The wall street journal" ซึ่ง Charles Henry Dow และเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนชื่อ Edward Jones เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมฉบับนั้น เมื่อปี ค.ศ. 1882 Charles Henry Dow เป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ที่เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ต้องการเขียนรายงานข่าวเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไรทั้งสิ้น ดาวจะรายงานถึงตลาดหุ้นว่าดีหรือเลวอย่างไรขึ้นหรือลงแค่ไหน ก็เป็นเรื่องยากที่จะสื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เขาจึงคิดดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ชื่อเขาและหุ้นส่วน เรียกว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยใช้หุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนีไว้เป็นตัวอ้างอิง จะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด

ปกติดาวเป็นนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ถือว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่อิงปัจจัยพื้นฐาน เขาได้เขียนบทบรรณาธิการอยู่หลายปี และได้นำตัวเลขดัชนีดาวโจส์มาทำเป็นกราฟเพื่อรายงานให้ผู้อ่านได้เห็นภาพพจน์ และแล้วดาวก็ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำเสนอผู้อ่านเป็นกราฟ ว่ามันมีรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา ว่ามันมีรูปแบบ(Price Pattern) ที่คาดคะเนแนวโน้มได้ เขาจึงได้เขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นด้วยกราฟ จึงนับได้ว่าดาวเป็นบิดาของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝ่ายตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นก็มีผู้ที่ใช้กราฟแท่งเทียน ( Candlestick Chart) ในการวิเคราะห์ราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรกันแล้ว

ต่อมาเมื่อดาวเสียชีวิตลง เพื่อนๆและแฟนประจำคอลัมน์ในของเขาได้ช่วยกันรวบรวมบทบรรณาธิการนั้นขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็น ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
ตามความคิดของดาวนั้น เขามองการขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูงกว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับทีี่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก



เมื่อ H= High จุดสูงสุด
L = Low จุดต่ำสุด
Dow ได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลา คือ
1. แนวโน้มใหญ่ ( Primary trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาว
2.แนวโน้มรอง (Secondary or Intermediate trend) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะกลาง
3.แนวโน้มย่อย (Minor trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มของราคาระยะสั้นๆ เป็นการเคลื่อนไหวของราคาประจำวัน

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)ได้กล่าวไว้ว่า

1.แนวโน้มใหญ่ (Primary Trend)

หรือแนวโน้มระยะยาว ปกติจะใช้เวลา 1 ปี หรือ 200 วันขึ้นไปอาจจะยาวนานถึง 4 ปี

Uptrend (แนวโน้มขึ้น )


ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
1. Low ใหม่ จะสูงกว่า Low เก่า (จุด L2 สูงกว่า L1) และ L3 ก็สูงกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2.High ใหม่ จะสูงกว่า High เก่า ( จุด H2 สูงกว่า H1) และ H3 ก็สูงกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3. ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลง ( ระยะระหว่าง L1 ถึง H2 จะยาวกว่าระยะระหว่าง H2 ถึง L2)

ก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม จุดต่ำสุดและสุดสูงสุดใหม่กับเก่า อาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน
Dow Theory

แนวโน้มลง Down Trend



1. Low ใหม่จะต่ำกว่า Low เก่า ( จุด L2 ต่ำกว่า จุด L1) และ จุด L3 ก็อยู่ต่ำกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2. High ใหม่ จะอยู่ต่ำกว่า High เก่า ( จุด H2 อยู่ต่ำกว่า จุด H1) และ จุด H3 ต้องอยู่ต่ำกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3.ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป ( H1L2 มากกว่า L2H2)

2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend)

เป็นแนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง

3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend)

เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น

ผมขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H

พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม


การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ

ตลาดกระทิง (Bull Market)


1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)

เมื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว
ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ
ทุกครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market)

2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase)

ในระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ

3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)"

ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง

ตลาดหมี (Bear Market)


1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)

เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง

2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase)

ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก

3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)


ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัวเอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก

ในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ

ผมหวังว่าบทความเรื่องทฤษฎีดาว (Dow Theory) คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ นะครับ
เพื่อนๆสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับ ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ในหมวดหมูของบทความหัวข้อ ทฤษฎีดาว (Dow Theory ) ได้ครับ


>|Internet Marketing and Services Human Edited Web Directory

ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 1

ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)


ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Henry Dow ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัชญาของตลาดหุ้น ที่อิธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆ เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อตลาดหุ้นเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว
ดาวได้พัฒนาการวิเคราะห์ตลาดหุ้นจนเกิดทฤษฎ๊ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของและเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The wall street journal แม้ว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการการให้ความเห็นด้านการเก็งกำไรและกฎ Industrial average
หลังจากที่ดาวได้เสียชีวิตแล้ว ก็มีหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขามากมาย เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer
ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)


ตลาดขาขึ้น-ขั้นที่ 1 - สะสม


ฮามิลตัน(Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดีทำให้ราคาประเมินของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่งงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้นและเป็นช่วงที่ผู้ทีมีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่งราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูกแต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเร็นบัฟเฟตได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากที่ตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมาเป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญหรือไม่ หาไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกตัวสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดตะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้นและหากราคาเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจุดสูงสุดเดิม จะเป็นการยืนยันการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่


ขึ้นที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆกำลังเริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือว่าเป็นข่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขึ้นที่ 3 - เกินมูลค่า


ระยะที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมินสูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 1 - กระจาย


เมื่อการสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาดจะไหวตัวทันว่า ธุระกิจต่างๆในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริมขายหุ้นออกแต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและพอใจในการซื้อที่ราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลงและยังมองตลาดในแง่ดีอยู่ ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อยข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญนี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จุดสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาสามารถทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 2 - การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่


เช่นเดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการรายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 3 - สิ้นหวัง


ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความดาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไปในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมินต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่องเพราะทุกคนในตลาดพยายามจะถอนตัวออก เมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีใครต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฏจักรก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory)


จุดประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่
ทฤษฎีดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาของตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน
การอ่านเกมส์ตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฏของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้นพวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนเรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

ผมหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ เพื่อนๆ สามารถประยุกต์ ทฤษฎีดาว (Dow Theory ) เข้ากับวิธีของเทรดของเพื่อนๆได้นะครับ เพื่อนๆสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับทฤษฎีดาว (Dow Theory ) ในหมวดหมู่ของบทความ หัวข้อ ทฤษฎีดาว (Dow theory) ได้ครับ

Thursday, August 26, 2010

6.การใช้ Ichimoku เต็มรูปแบบ(ตอนจบ)

บทสรุปของการใช้ Ichimoku แบบสมบูรณ์

เนื่องจาก Ichimoku มันมีส่วนประกอบย่อยๆหลายเส้น ผมจึงแยกเขียนออกมาเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้เพื่อนๆทุกคนได้เข้าใจหลักการณ์ของเส้นแต่ละเส้นของ Ichimoku โดยเขียนไว้ตั้งแต่หัวข้อที่ 1-5 ดังนี้
part 1: หลักการทั่วไปของ Senkou span ใน Ichimoku
part 2: หลักการทั่้วไปของ Tenkan sen ใน Ichimoku
part 3: หลักการทั่วไปของ kijun sen ใน Ichimoku
part 4: หลักการทั่วไปของ Tenkan sen VS. Kijun sen เมื่อสองเส้นนี้มันตัดกัน
part 5: หลักการทั่วไปของ Chinkou span ใน Ichimoku
การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Ichimoku ก่อนอื่นเราต้องจำชื่อแต่ละเส้นให้ได้ก่อนนะครับ ว่ามันมีลักษณะยังไง มีหลักการแบบไหน เมื่อมันอยู่รวมกันเราจะได้วิเคราะห์ถูก ว่าเส้นนี้คือเส้นอะไร มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อทุกเส้นมารวมกันจะได้กราฟดังนี้
Ichimoku

การเข้า Buy
1.เมื่อ Tenkan sen ตัด Kijun sen ขึ้นไป แล้วแท่งเทียนยืนอยู่เหนือ เส้นทั้งสอง
2. Tenkan sen , Kijun sen , และแท่งเทียน ต้องอยู่บน Senkou Span (kumo หรือ Cloud)
3. Chinkou span ตัด แท่งเทียนในอดีตขึ้นมา
Ex.1
Ichimokuอีกหนึ่งความลับของ Ichimoku ก็คือ การดูสัญญาณยืนยัน (Confirmation signal ) เราสามารถดูได้จาก เส้น chinkou span
- ราคามีการดีดกลับ จากขาลงกลายเป็นขาขึ้น แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะขึ้นจริงหรือหลอก จุดสังเกตแรกที่จะสามารถบอกเราได้ว่ามันกำลังจะขึ้นก็คือ * จุดที่ Chinkou span ( Lagging line ) ตัดแท่งเทียน แล้วก็ตัด Senkou span A ขึ้นไป ดังรูป

Ichimoku

จุดยืนยันที่สองคือ Chinkou span ตัด Senkou span B ขึ้นไป ดังรูป
Ichimoku

การเข้า Sell ก็ทำตรงข้ามกับ Buy นะครับ
Ex. การเข้า Sell
Ichimoku

ผมหวังว่าบทความที่ผมได้เขียนคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆชาวเทรดเดอร์ ทุกคนนะครับ เพื่อนๆสามารถนำ Ichimoku ไปประยุกต์กับ Indicators ต่างได้นะครับ ถ้าเพื่อนๆคนใดได้นำ Ichimoku ไปประยุกต์ใช้ กับ Indicators ตัวอื่นๆแล้วได้ผลดี และมีความประสงค์อยากจะแบ่งปันวิธีของตน ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธิ์นั้นๆมาที่ pipsrunner9@gmail.com นะครับ ผมจะบันทึกลง Blog ของผมเพื่อเผยแพร่ต่อไปครับ

สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับ Ichimoku เพื่อนๆสามารถติดตามได้ที่ หมวดหมู่ของบทความ ในหัวข้อ

http://9professionaltrader.blogspot.com/search/label/Ichimoku

นะครับ

5.หลักการของ Chikou Span ใน Ichimoku

หลักการของ Chikou Span ที่อยู่ใน Ichimoku


Chinkou span ก็ถือ เส้นราคาที่แสดงราคาปิด แต่ถูก Shift ไปด้านหลัง Chikou span มีความสำคัญมากเพราะมันเป็นราคาปัจจุบันเพียงแค่ถูกเลื่อนไปอยู่ช้ากว่าราคาเท่านั้นเอง
กฎทั่วไปของ Chinkou span คือ
1. เมื่อ chinkou span ตัดแท่งเทียนขึ้นไป และอยู่เหนือแท่งเทียนนั้น แล้วราคามีการเคลื่อนที่ขึ้น แสดงว่า แนวโน้มกำลังจะขึ้น ดังรูปครับ

Ichimokuวงกลมที่ 1 คือ chinkou span เมื่อchinkou span อยู่บนแท่งเทียนในอดีต แล้ว chinkou span มีความชันเป็นบวก แสดงว่าสภาวะกระทิง (Bullish) ราคาจะมีการขึ้นต่อ

2. เมื่อ Chinkou span ตัดผ่านแท่งเทียนแท่งมาและอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียนในอดีต แล้วราคาเคลื่อนที่ลง แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะลง ดังรูปด้านล่างครับ
Ichimoku

จากกราฟด้านบน chinkou span ตัดแท่งเทียนในอดีตลง และอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียน แสดงว่า สภาวะของตลาดปัจจุบันกำลังจะเป็นขาลง (bearish)

จากที่ผมได้กล่าวมาด้านบน เป็นหลักการพื้นฐาน
เรายังสามารถใช้ chinkou span เป็นแนวรับ(support)และ แนวต้าน(resistance) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้เส้น chinkou span เพื่อหาจุดกลับตัว ได้

-แนวรับ (support) จาก chinkou span ผมจะใช้ เทรนไลน์ วัดหา Support trendline ดังรูป

Ichimoku

- แนวต้าน(resistance) จาก chinkou span ผมจะใช้เทรนไลน์เพื่อหา Resistance trendline ดังรูป
Ichimoku
จากกราฟ ด้านบน ถ้าราคาสามารถทะลุเส้นแนวต้านของ chinkou span ราคาก็จะกลับตัวขึ้นไปเป็นขาขึ้นทันที

สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับ Ichimoku เพื่อนๆสามารถติดตามได้ที่ หมวดหมู่ของบทความ ในหัวข้อ

http://9professionaltrader.blogspot.com/search/label/Ichimoku

นะครับ