หลายคนดูข่าวใน
www.forexfactory.com แต่ไม่รู้ความหมายของข่าวนั้นว่าแปลว่าอะไร ตัวเลขออกมาแล้วจะส่งผลยังไง วันนี้ผมก็เลยหาความหมายของข่าวมาให้นะครับ
ตารางข่าวเศรษฐกิจจาก ForexFactory
จากตารางข่าวด้านบน จะประกอบด้วย Date(วันที่) ,Time (เวลา), Currency(ค่าเงิน), Impact(ความแรงของข่าว) ,Actual (ตัวเลขที่ออกจริง),
forecast(ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์) ,previous(ตัวเลขที่ออกก่อนหน้านั้น)Impact
สีแดงจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือสีส้ม และสีเหลือง
และสีข่าวจะแสดงว่าเป็นวีนหยุดของตลาดของประเทศนั้นและตัวเลขจริงที่ออก มาActual ตัวเลขที่ออกมาจะมี 3 สีด้วยเช่นกัน
คือ
สีเขียวคือข่าวดี
สีแดงคือข่าวไม่ดี
สีดำคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทั้งนีี้้ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย Impact ถ้าข่าว High Impact สีแดง
และตัวเลขที่ประกาศออกมา เป็นสีเขียวหรือสีแดง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงประมาณ 100 pips ขึ้นไป
-วิธีการเก็งกำไรจากข่าวในตาราง Forexfactory ให้รอดูตัวเลขจริง Actual ออกมาก่อนนะครับ เมื่อตัวเลขจริง(actual)ออกมามากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขที่คาดการณ์(forecast)ไว้จะส่งผลทำให้ดีกับค่าเงินนั้นๆ แต่ถ้าตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้จะส่งผลเสียกับค่าเงินนั้นๆ เช่น ถ้าข่าวของ USD ออกมามากกว่า
ตัวเลขคาดการณ์(Forecast) จะทำให้ USD / XXX ขึ้น และทำให้ XXX / USD ลง ( XXX คือ ค่าเงินของประเทศนั้นๆเมื่อเทียบกับดอลล่าห์สหรัฐ(USD)อาทิเช่น JPY CHF CAD AUD NZD GBP )
ถ้าข่าว Gross Domestic Product หรือ GDP ของอังกฤษ(GBP) ตัวเลขออกมามากกว่าที่ตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้จะส่งผลให้กราฟของ GBP/USD , GBP/JPY,GBP/CHF ขึ้น และกราฟ EUR/GBP จะลง
ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ
1. สำคัญมาก
ชื่อก็บอกอยู่ แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน
2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)
3. ทั่วไป
อัน นี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้
คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ
โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ
1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)
คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน
แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?
1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ
2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน
เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)
ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )
ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )
ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)
กลุ่มสำคัญมาก
Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
จะ ประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศ ทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศ ทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศ ทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะ ประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Retail Sales
ประกาศ ทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออก ทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
กลุ่มสำคัญ
Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวัน พฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Personal Income
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Personal Spending
ประกาศ แถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การ ประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด
ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia
Durable Goods Orders
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Institute of Supply Management หรือ ISM
ออก ทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
Philadelphia Fed Survey
ออก ราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออก ราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Non-Farm Productivity
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Current Account Balance
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Confidence
ออก ทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
Leading Indicators
ออก ราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
IFO Business Indexes
ประกาศ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Seo Deep Links