กองทุนโจรสลัดหรือที่เรียกกันว่า Hedge Funds มีบทบาทในการสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการเงินโลกหลายครั้งหลายคราเช่นในปี 1992 อัตราแลกเปลี่ยนของหลายๆประเทศในโลกอุตสาหกรรม ต่างผันผวนไปตามๆกัน เพราะการโจมตีของกองทุนโจรสลัดในปี 1994 ตลาดตราสารหนี้ทั้งโลกปั่นป่วนด้วยเหตผลเดียวกันรวมทั้งวิกฤติต้มยำกุ้งในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ในปี 1997 ด้วย
กองทุนโจรสลัดหรือที่เรียกกันว่า Hedge Funds มีหน้าตาอย่างไร ?
กองทุนโจรสลัดคือการลงทุนร่วมกันในลักษณะของหุ้นส่วน โดยมีผู้จัดการหรือนิติบุคคลเป็นผู้บริการกองทุน เงื่อนไขของการตั้งกองทุนในลักษณะนี้ตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์อเมริกาคือ ห้ามมีหุ้นส่วนเกิน 99 ราย และ 65 รายต้องมีทรัพย์สินสุทธิที่มีใบรับรองไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญ ดอลล่าสหรัฐ การกำหนดหุ้นส่วนในแต่ละกองทุน ไว้ไม่เกิน 99 ราย ก็เพื่อหลักเลี่ยงการควบคุมของกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์ที่เขียนไว้ป้องกันสาธารณชน (Public) ถูกกองทุนเหล่านี้หลอกลวง ลงทุนอย่างสุ่มเสี่ยงและกรณีนี้ถ้ามีการชักชวนให้บุคคล 100 รายขึ้นไป ถือว่าเป็นเรื่องสาธารณะซึ่งมีกฎหมายควบคุมอย่างรัดกุม
ผู้เข้าร่วมลงทุนในกองทุนโจรสลัดจะต้องลงนามสัญญาว่าจะไม่ถอนเงินออกก่อนในเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็อาจจะทยอยถอนทุน หรือ ถอนทุนทั้งหมดได้ในแต่ละไตรมาสของการลงทุนหรือรอบบัญชี
ด้วยเหตที่เป็นการลงทุนโดยสมัครใจ ของผู้มีเงินล้นกระเป๋า จึงไม่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายใดๆ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของสาธารณชน
บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารเพื่อการลงทุนใหญ่ๆจะมีบริการให้จัดตั้งและบริหารกองทุนเหล่านี้โดยเรียกค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ บวกกับค่าจ้างบริหารอีกต่างหาก
นายโจส โซรอส ( George Soros) เป็นผู้ทั้งผู้ก่อตั้ง ผู้ลงทุน และผู้บริหารลงทุน มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีล่ะ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ นาย จูเลี่ยน โรเบริตสัน ( Julian Robertson) มีรายได้ 300 ล้านเหรียญ นาย สแตนเลย์ ดรัคเคนมิลเลอร์(Stanley Druckenmiller) 200 ล้านเหรียญ
ในปี 1992 วิเคราะห์ว่าค่าเงินปอนด์สเตอลิ่งของอังกฤษ มีค่าแข็งเกินจริง( เหมือนเงินบาทไทยในวันนี้) เขาทำสัญญาณยืมเงิน 1 หมื่นล้านปอนด์สเตอลิ่ง ไปซื้อเงินสกุลอื่น ทำให้ธนาคารชาติของอังกฤษ ต้องประกาศขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งและใช้เงินอีก 1.5 หมื่นล้านปอนด์สเตอลิ่ง เพื่อปกป้องค่าเงินปอนด์ไม่ให้อ่อนตัวลง แต่ก็ไม่สามารถรักษาค่าเงินไว้ได้ ทำให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง นายโซรอสได้กำไรไป 2000 ล้านปอนด์สเตอลิ่ง
ที่น่าสนใจอีกกรณีหนึ่งคือ การที่รัฐบาลอเมริกา เข้ามาอุ้มกองทุนเสี่ยงเก็งกำไรเพื่อไม่ให้ล้มละลายโดยเอาเงินชาวบ้านมาอุ้ม ทั้งๆที่ตามประเพณีของการธุระกิจของอเมริกัน รัฐจะไม่เข้ามาก้าวก่าย หรือแทรรกแซงธุรกิจเอกชน แต่กรณีนี้เป็นข้อยกเว้น
Hedge Funds ชื่อ Long Term Capital Management (LTCM) ซึ่งผู้ก่อตั้งและบริหารงาน เป็นอรหันต์ทางการเงินทั้งสิ้น อันได้แก่ นายเดวิด มูลลิน (David Mullins) อดีตรองประธานธนาคารชาติของสหรัฐ นายมายรอน สโกลส์ (Myron Scholes) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รางวัลโนเบลในด้านการประเมินราคาซื้อขาย Options และนายโรเบริ์ต เมอร์ตัน (Robert MerTon) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่ง
ด้านกองทุนเก็งกำไรขาลง LTCM มีผู้เชื่อถือมาก กองทุนนี้คิดค่าบริการร้อยล่ะ 25 ของผลกำไรของผู้ลงทุน และมีลูกค้าชั้นหนึ่งเช่น มูลนิธิ ร๊อคกี้เฟลเล่อร์ ธนาคารเดรสเน่อร์ของเยอรมัน กลุ่มเครดิตสวิสต์ ธนาคารยูบีเอส เอจี บริษัทประกันภัยเพรสซิเด้นท์ บริษัทนายหน้าเมอริล ลินซ์ เพน เวบเบอร์ และธนาคารกลางอิตาลี่ กองทุนนี้สามารถทำกำไรให้กับนักลงทุน ร้อยละ 42.8 หลังหลักค่าบริการแล้ว ในปี 1995 ร้อยละ 40 ในปี 1996 และร้อยละ 17 ในปี 1997
ในปี 1997 มีสถาบันนักลงทุนและมหาเศรษฐีจากทั่วโลก แย่งกันส่งเงินมาเข้าร่วมลงทุนในกองทุนนี้ เพราะเห็นผลงานจากผลตอบแทนในสองปีที่ผ่านมา จนกระทั่ง LTCM ต้องส่งเงินจำนวน 2700 ล้านเหรียญ คืนให้กับผู้ลงทุน นักวิจารณ์บางคนถึงกับกล่าวว่า การได้ลงทุนในกองทุนนี้ เปรียบเสมือนได้นั่งรถโรลสรอยส์
ในขณะที่กองทุนนี้มีเงินทุนอยู่แค่ 4800 ล้านเหรียญ แต่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารต่างๆมาเพิ่มการลงทุนได้มากถึง 2 แสนล้านเหรียญ โดยการใช้หุ้นที่ซื้อมาค้ำประกันเงินกู้ หรือสามารถกู้ได้มากกว่า 50 เท่า ไม่เพียงแค่นั้นกองทุนนี้ยังซื้อหุ้นที่ซื้อมาค้ำประกัน การซื้อดัชนีเก็งกำไรประเภทต่างทั่วโลก รวมทั้งดัชนีการขึ้นลงของดอกเบี้ย (Derivatives) รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นยอดเงินสูงถึง 1.25 ล้านล้านเหรียญ จากทุนดังเดิม 4800 ล้านเหรียญ หรือสองร้อยเท่า
จะเห็นได้ว่าด้วยวิธีการเหล่านี้ จึงไม่มีทุนสำรองของธนาชาติแห่งใดในโลกที่เปิดเสรีทางการเงิน สามารถจะสู้ค่าเงินกับกองทุนเก็งกำไรความเสี่ยงเหล่านี้ได้
เมื่อรัสเซียประสบปัญหาวิกฤติค่าเงินในเดือนสิงหาคม 1998 และประกาศพักชำระหนี้ในเวลาต่อมา ทำให้ดัชนีทั่วโลกเคลื่อนไหวอย่างระส่ำ ทำให้กองทุนเก็งกำไรขาลงรวมทั้งควันตั๊มฟันจ์ของนายโซรอส ขาดทุนอย่างระเนระนาด อย่างน้อยครึ่้งนึงของเงินทุน
กองทุนของนายโซรอสขาดทุนมากถึง 2000 ล้านเหรียญ กองทุน LTCM ซื้อดัชนีเก็งกำไรพันธบัตรของเยอรมันและอเมริกาด้านขาลง แค่เมื่อเกิดวิกฤติ ทุนต่างวิ่งกลับไปยังแหล่งที่ปลอดภัยจึงทำให้พันธบัตรราคาสูงขึ้น กองทุน LTCM ขาดทุนมากถึงร้อยละ 90 ของเงินทุุนที่มีอยู่ จาก 4.8 พันล้านเหรียญมาเหลือเพียง 600 ล้านเหรียญ ในเดือนกันยายน 1998 (เหมือนกับธนาคารแห่งประเทศไทยเราที่สูญเงินทุนสำรองของชาติไปเกือบทั้งหมดในปี 1997 )
กองทุน LTCM ได้แจ้งผลการประกอบการณ์ให้กับนาย อแลน กรีนสแปน ประธานธนาคารชาติของอเมริการับทราบ และขอความช่วยเหลือ นายกรีนสแปนจึงใช้ อิทธิพลดึงให้สถาบันการเงินยักๆเข้ามาอุ้ม โดยการลงทุนในกองทุนนี้เป็นจำนวน 3500 พันล้าน เพื่อชดเชยกับเงินที่สูญไป เพื่อจะได้ไม่ต้องล้มละลายอันจะทำให้สถาบันการเงินที่ลงทุนในกองทุนนี้ พังพาบ กลายเป็นภาระต่อรัฐบาลไปด้วย
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment