Tuesday, October 19, 2010

สร้างแบบสอบถามออนไลน์ง่ายๆด้วย Spreadsheets.google.com

การสร้างแบบสอบถามออนไลน์

เคยกันไหมที่อยากสร้างแบบสอบถามออนไลน์ ไม่ว่าจะสอบถามในงานวิจัยอย่าง ภาวะโลกร้อน การใช้งานอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย หรือแม้แต่ทำแบบสอบถามเล่นๆ อย่าง งานคอส หรือการ์ตูนเรื่องที่ชอบ ซึ่งการสร้างแบบสอบถามนั้น ทำไม่ยากอย่างที่คิด และที่สำคัญฟรีอีกด้วย โดยการสร้างด้วยกูเกิล (Google) อันนี้ผมลองสร้างเล่นๆ ทดสอบ ลองเล่นกันได้ที่http://spreadsheets.google.com/viewform?key=p4AZuFkVkw_fSdaMX4fGwEg

ตัวแบบสอบถามออนไลน์ (แบบสำรวจ แบบสำรวจออนไลน์ เซอร์เวย์ เซอร์เวย์ออนไลน์ ออนไลน์เซอร์เวย์ แล้วแต่คนจะเรียก) หลายคนคงเคยกรอกกันมาบ้างแล้ว โดยข้อดีของการทำแบบสอบถามออนไลน์นั้น มีหลายอย่างไม่ว่า คนสร้างสะดวก คนตอบสบายใจ ข้อมูลรวดเร็วครบถ้วน ไม่ต้องมานั่งปรินต์แจกและนำข้อมูลมากรอกทีหลังในคอม ประหยัด และลดโลกร้อนอีกตะหาก (อ้าวก็ไม่ต้องใช้กระดาษนี่) และที่สำคัญก็พร้อมนำมาวิเคราะห์ได้ทันที ซึ่งมีหลายวิธีกันที่จะสร้างแบบสอบถามออนไลน์กันไม่ว่า

  • สร้างผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการอย่าง SurveyMonkey (ยอดฮิต), polldaddy, LimeService, Surveyspro และอีกหลายเจ้าที่ให้บริการ(กึ่ง)ฟรี โดยมักจะมีเงื่อนไขว่า ถ้าเสียเงินจะได้ ใส่จำนวนคำถามได้เพิ่ม เพิ่มลิมิตคนตอบ สามารถเซฟไฟล์เป็น Excel ได้ และอีกหลายอย่าง
  • พวกเสมือนเทพจะเขียนโปรแกรมของตัวเอง หรือนำโปรแกรมโอเพนซอร์ซมาลงอย่าง phpESP ก็แล้วแต่ความแรงของเทพและเวลาว่าง หรืออย่างวิธีการง่ายๆ ที่คนไทยนิยมใช้กัน
  • ฟอร์เวิร์ดเมลและแนบไฟล์ Words ส่งไปหาทุกคนที่รู้จัก และให้กรอกและส่งกับมาก็มีให้เห็นบ้าง ลำบากคนกรอกแบบสอบถามนิดหน่อย นอกจากมีก็มีการโพสต์คำถามทั้งหมดลงตามเว็บบอร์ด ซึ่งวันดีคืนดีเว็บมาสเตอร์ของบอร์ดเกิดเฮี้ยนขึ้นมา ลบกระทู้ออกก็ถึงกับร้องไห้ก็มี

แต่คราวนี้ก็มาถึงคราวของการทำด้วยกูเกิล ซึ่งข้อดีของการทำด้วยกูเกิลนั้นก็มีข้อดีมากมายไม่ว่า (1) ฟรีจริงๆ (2) ง่าย (3) เซฟไฟล์มาเป็น Google Spreadsheet และ Excel ได้ (4) ทำได้ทันที (5) นำมาใส่ในเว็บหรือบล็อกได้ ถ้าเว็บนั้นรองรับคำสั่ง iframe (6) ประหยัดเวลาคนส่งและสบายคนตอบ ใครอ่านถึงตรงนี้แล้วอยากลอง ก็เข้าได้ที่ http://spreadsheets.google.com/newform

คราวนี้ก็มาถึงกับขั้นตอนการสร้าง โดยหลังจากเข้าเว็บจะเห็นหน้าตาคล้ายภาพด้านหลัง โดยด้านบนสุดก็เป็นการใส่ชื่อฟอร์ม บอกคนตอบว่าแบบสอบถามนี่เกี่ยวกับอะไรคร่าวๆ พร้อมคำอธิบายในช่องต่อมา และเมื่อเราต้องการเริ่มใส่คำถาม ก็กดตรง Add question ก็จะมีรูปแบบคำตอบทั้ง 6 แบบออกมาดังภาพ

กูเกิล ด็อกส์

โดยทั้ง 6 แบบ ได้แก่

  • Text - สำหรับคำตอบที่ต้องการเป็นข้อความไม่ยาวมาก
  • Paragraph text - สำหรับคำตอบที่ต้องการเป็นย่อหน้า ยาวๆ ส่วนใหญ่พวกความคิดเห็น
  • Multiple choice - ตัวเลือก หรือรู้จักในชื่อ "ช้อยส์" สำหรับคำตอบที่ให้เลือกอันใดอันหนึ่ง
  • Check boxes - ตัวเลือกเหมือนกัน แต่สามารถเลือกได้หลายข้อพร้อมกัน
  • Choose from a list - ตัวเลือกเหมือนกันอีกแล้ว โดยเลือกจากรายการ โดยสามารถเลือกได้หนึ่งอย่าง
  • Scale (1-n) - สเกล สำหรับให้คะแนน เช่น จาก 1 -5 เห็นด้วยไหม 1 = ไม่เห็นด้วย, 5 = เห็นด้วย ก็ว่าไป

ซึ่งในแต่ละคำถามก็จะมีให้เลือก "Make this a required question" หมายถึง ว่าคำถามนี้จำเป็นต้องตอบ ถ้าไม่ตอบไม่ได้ ส่วนหน้าตาของเว็บก็เรียบง่ายสไตล์กูเกิล ไม่มีอะไรให้รกมากนัก พอเสร็จแล้วก็กด Done

เมื่อเราทำคำถามเสร็จหมดแล้ว ก็ลงมาที่ท้ายหน้าก็จะมีลิงก์สำหรับส่งให้คนตอบคำถามเรา ซึ่งอย่างของผมก็คือhttp://spreadsheets.google.com/viewform?key=p4AZuFkVkw_fSdaMX4fGwEg นอกจากนี้สามารถนำไปฝังในบล็อกหรือเว็บได้ โดยกดตรง embed ด้านขวาบน

ส่วนขั้นตอนการเชิญชวนคนอื่นมาทำแบบสอบถามเราก็ขึ้นอยู่กับตัวเราแล้วละไม่ว่า ส่งอีเมลหาคนรู้จักโดยส่งลิงก์ไปให้คนทำ นำไปโพสต์ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ส่งหาเพื่อนในเอ็มของเรา ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ หรือจะส่งทางไหนก็แล้วสะดวก ที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะเข้ามาทำแบบสอบถามของเรานี้

คราวนี้ก็มาถึงการใช้งานในส่วนการวิเคราะห์และประเมินผล โดยกดตรง Show analysis ตรงด้านบน ทางซอฟต์แวร์ก็จะสรุปมาเป็นกราฟให้เห็น ซึ่งตรงนี้ยังมีปัญหากับภาษาไทยนิดหน่อยในตัวกราฟ ดังแสดงตามภาพด้านล่าง

กูเกิล ด็อกส์

ส่วนถ้าต้องการข้อมูลทั้งหมดก็สามารถเลือกได้โดยกดตรง see complete responses ก็จะได้ดังภาพด้านล่าง

กูเกิล ด็อกส์

อ่านถึงตรงนี้ถ้าใครยังไม่ได้ลอง ก็เข้าได้ที่ http://spreadsheets.google.com/newform การทำแบบสอบถามออนไลน์นั้น

Credit: ข้อมูลนี้คัดลอกมาจากhttp://gotoknow.org/blog/how2blog/217282


Monday, October 04, 2010

กราฟแท่งเทียน

รูปแบบกราฟแท่งเทียน (CandleStick Chart Pattern)

ที่มา : http://9professionaltrader.blogspot.com/2010/08/candlestick-chart-pattern.html

What 's Candle Stick Chart ? กราฟแท่งเทียนคืออะไร

กราฟ แท่งเทียนเป็นกราฟที่แสดงราคาของหุ้นตัวนั้น ซึ่งจะแสดงราคาเปิด ( Open Price ) ราคาปิด(Close Price) ราคาสูงสุด ( High Price) และราคาต่ำสุด( Low Price ) โดยต้นกำเนิดของกราฟแท่งเทียนมาจากประเทศยี่ปุ่นโดยมีประวัติย้อนหลังยาวนาน มาก โดยนาย Munehisa Homma เป็นผู้คิดค้นจากการวิเคราะห์จิตวิทยาของคนในการซื้อชายและกำหนดราคาข้าว และเขาได้เขียนหนังสือไว้สองเล่มคือ Sakata Henso และ Soba No Den เมื่อประมาณ พ.ศ. ที่ผ่านมาประเทศกลุ่มตะวันตกทั้งหลายได้เห็นถึงประสิทธิภาพจึงได้นำมา ประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดเงินตราระหว่างประเทศ โดยรูปแบบต่างๆของกราฟแท่งเทียนนั้นมีอยู่ด้วยกันมากกว่า 50ประเภท แต่เรานำมาประยุกต์ใช้กับตลาด ณ ปัจจุบันเพียงและเกิดขึ้นบ่อยๆ เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น


รูปร่างทั่วไปของแท่งเทียน General Of CandleStick Sharp

แท่ง เทียนจะประกอบด้วย ราคาปิด ราคาเปิด ราคาต่ำสุด ราคาสูงสุด ซึ่งระยะระหว่างราคาปิดและราคาเปิดเราจะเรียกว่า ตัวแท่ง ( Body) ใส้เทียนด้านบน คือ Upper Shadow และ ใส้เทียนด้านล่าง Lower Shadow

ลักษณะของแท่งเทียนมีอยู่ สาม แบบ คือ

1. แท่งเทียนขาขึ้น Bullish Candlestick ลักษณะของแท่งเทียนขาขึ้นนี้ ราคาปิดจะอยู่สูงกว่าราคาเปิด

bullish candlestick แท่งเทียนขาขึ้น

2.แท่งเทียนขาลง Bearish Candlestick ลักษณะของแท่งเทียนขาลงคือ ราคาปิดจะต้องต่ำกว่าราคาเปิด

bearish candlestick แท่งเทียนขาลง


3.Doji โดจิคือ ราคาเปิดและราคาปิดของแท่งเป็นราคาเดียวกัน หรือ อยู่ใกล้เคียงกันมากๆ

doji ราคาปิดและราคาเปิดอยู่ตำแหน่งเดียวกัน


รูปแบบของแท่งเทียน (Candlestick Pattern ) มีด้วยกัน 3 รูปแบบคือ

1.รูปแบบของแท่งเทียนขาขึ้น (Bullish Candlestick Pattern)

2.รูปแบบของแท่งเทียนขาลง (Bearish Candlestick Pattern)

3.รูปแบบของแท่งเทียนแบบต่อเนื่อง (Continuous Candlestick Patern)



รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มักจะพบบ่อยที่สุด มีดังนี้

โดยปกติแล้ว รูปแบบของแท่งเทียนมีเยอะมาก มากกว่า 50 รูปแบบ ถ้าจะให้เราจำหมด ก็คงไม่ไหว วันนี้ผมจึงเอาเฉพาะรูปแบบที่พบบ่อยบนกราฟของเรามาให้ดูกันครับ ว่าแต่ละตัวบอกถึงอะไร สื่อความหมายว่าอย่างไร การดูแท่งเทียนเป็นวิธีการที่ดีที่ใช้ในการวิเคราะห์หุ้น หรือ ฟอเร็กซ์ และเพื่อความแม่นยำให้กับการวิเคราะห์กราฟของเรา เราก็ควรจะใช้รูปแบบของกราฟแท่งเทียนร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Indicator , Fibonacci , Trendline , Moving Average และ รูปแบบกราฟโดยทั่วไป เราสามารถประยุกต์กราฟแท่งเทียนเข้ากับเครื่องมือเหล่านี้ได้

10 อันดับที่พบบ่อยของ รูปแบบกราฟแท่งเทียน

Top 10 candlestick patterns Dark Cloud Cover: เป็นแท่งเทียนตามด้วยแท่งเทียนสีดำ ราคาเปิดของแท่งสีดำจะเปิดสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีขาวและราคาปิดของแท่ง สีดำจะปิดต่ำกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งสีดำ รูปแบบนี้เป็นสัญญาณการกลับทิศจากแนวโน้มขาขึ้นกลายเป็นแนวโน้มขาลง (Bearish Reversal Signal)

แต่ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ ปิดสูงกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งเทียนสีข่าว ให้เรารอสัญญาณยืนยันของแท่งเทียนสีดำอีกแท่ง ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนอีกแท่งปิดต่ำกว่ากึ่งกลางของแท่งสีขาว ก็เป็นสัญญาณการกลับตัวเป็นตลาดขาลง

doji's Doji: เป็นกราฟแท่งเทียนที่มีราคาเปิดและราคาปิดอยู่ในราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมากๆ เราก็ถือว่ากราฟแท่งเทียนนั้นเป็นโดจิ ลักษณะของมันจะคล้าย เครื่องหมาย บวก เครื่องหมาย ลบ กากบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า โดจิ

ถ้าเกิด โดจิ ขึ้นกับกราฟของเรา นั่นคือสัญญาณบอกเราว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มเดิม โดยทั่วไปแล้ว เราจะดู โดจิเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูแท่งเทียนถัดมาอีกแท่งเพื่อเป็นสัญญาณยืนยันของแนว

โน้มนั้น

engulfing pattern Engulfing Pattern: ในสภาวะที่เป็นตลาดขาลงเราจะเป็นว่าแท่งสีดำ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเปลี่ยนแท่ง ราคาจะกระโดดโดยที่ราคาเปิดของแท่งสีขาวจะอยู่ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งสีดำ และมีแรงซื้อเข้ามาทำให้เราราปิดของแท่งสีขาวสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีดำ นี่คือ ตลาดกำลังจะ

กลับตัวจากแนวโน้มลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น ลักษณะรูปแบบแท่งเทียนแบบนี้เรียกว่า Engulfing Bullish

Engulfing Pattern จะประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ Engulfing Bullish และ Engulfing Bearish

evening star Evening Star: โดยทั่วไปแล้วรูปแบบแท่งเทียนนี้จะเป็นการกลับตัวของกราฟจากแนวโน้มขาขึ้น กลายเป็นแนวโน้มขาลง โดบรูปแบบนี้จะประกอบด้วยแท่งเทียนสามแท่ง แท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีขาวยาวๆ และตามด้วยแท่งเล็กๆ ที่เกิดการกระโดดขึ้นไปอยู่บนยอด (gap) และมีขนาดเล็กๆ ราคาปิดและราคาเปิดของแท่งเทียนที่สองจะอยู๋ใกล้เคียงกัน จากนั้นก็เกิดช่องว่าง(gap)เปลี่ยนเป็นแท่งที่สามเป็นแท่งสีดำยาวๆ นี่คือลักษณะของ Evening Star นอกจาก Evening Star แล้วก็ยังมี Morning Star โดยหลักการก็ตรงกันข้ามกับ Evening Star


hammer Hammer: เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลงมีแท่งเทียนสีดำลงมาเรื่อยๆ จากนั้นราคาได้ดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด โดยลักษณะของแท่งเทียนจะเป็นแบบตะปู โดยที่มีราคาปิดจะปิดสูงกว่าราคาต่ำสุดลักษณะนี้เราจะเรียกว่า Hammer

Hammer มักจะบอกเราอยู่เสมอว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มขาลงกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้น hanging man Hanging Man: รูปแบบของ Hanging man จะคล้ายกับ Hammer แต่จะเกิดกับแนวโน้มขาขึ้น ถ้าเกิด Hanging man กราฟมันกำลังบอกเราว่า แนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนจากขาขึ้นกลายเป็นขาลง ให้รอสัญญาณยืนยันจากแท่งเทียนขาลงอีกแท่ง

harami Harami: รูปแบบนี้จะประกอบด้วยแท่งเทียนสองแท่งแท่งเทียนขาขึ้นสีขาวและแท่งเทียนสี ดำ เมื่อมีแท่งเทียนปิดตัวลงได้เกิดแท่งเทียนสีดำเล็กขึ้น โดยแท่งเทียนสีดำอยู่ระหว่าง Body ของแท่งเทียนสีขาว แท่งเทียนแบบ Harami นี้จะบอกการกลับตัวจากแนวโน้มเดิม

Harami จะประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ Bullish Harami และ Bearish Harami ตัวอย่างด้านบนเป็น Bullish harami

morning star Morning Star: รูปแบบของแท่งเทียนแบบ morning star จะดูกันแค่ 3 แท่ง รูปแบบนี้เอาไว้ดูการกลับตัวของกราฟจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Reversal candle pattern) จะประกอบแท่งเทียนสีดำยาวๆ ซึ่งเป็นแท่งเทียนขาลงและ ตามด้วยแท่งเทียนสั้นๆ ที่เกิด gab ด้วย เมื่อมีแท่งสั้นๆตรงกลางแล้ว ตามด้วย แท่งเทียนสีขาว

แท่งเทียนสีขาวที่เกิดขึ้น ราคาปิดของแท่งเทียนสีขาวต้องปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ piercing line Piercing Line: เป็นแท่งเทียนสีดำ ตามด้วยแท่งเทียนสีขาวที่มีราคาเปิดต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ แต่แท่งเทียนสีขาวสามารถทำราคาปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการกลับตัวการกลับตัวของกราฟจากขาขึ้นเป็นกราฟขาลง และรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ตรงข้ามกับ Dark Cloud Cover

Shooting Star Candlestick example image from StockCharts.com Shooting Star: รูปแบบนี้จะตรงข้ามกับรูปแบบของ Hammer แท่งเทียนแท่งแรกเป็นแท่งเทียนขาขึ้น และตามด้วยแท่งเทียนที่มีราคาปิดและเปิดอยู่ใกล้ๆกับราคาต่ำสุด รูปแบบนี้จะบ่งบอกเราว่ากราฟกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นมาเป็นแนวโน้มขา ลง


ทริคในการเทรดโดยรูปแบบแท่งเทียน ของ 9professsionaltrader

เรา สามารถดูแท่งเทียนเพียงอย่างเดียวในการเทรด ได้ แต่เพื่อความแม่นยำ ควรจะดูควบคู่ไปกับ Indicators หรือ เครื่องมืออื่นๆไปด้วย เช่น

1.ผม จะดูรููปแบบของแท่งเทียนควบคู่ไปกับการดู Overbought Oversold เมื่อ Indicators บอกเราว่า ราคาได้ Oversold แล้ว ก็จะมาดูที่ราคา แล้วรอจนกว่าราคาจะเกิดแท่งเทียนกลับตัวเป็นแท่งเทียนขาขึ้น หรือเป็นรูปแบบกราฟแท่งเทียนขาขึ้น (Bullish Candle Pattern) จากนั้นเราจึงตัดสินใจที่จะซื้อ (Buy)

2.ดู รูปแบบแท่งของแท่งเทียนควบคู่ไปกับ Trendline เมื่อราคาลงมาชนเส้นแนวโน้มขาขึ้น (Support Trendline or Uptrendline) พอมันลงมาชนแล้วเด้งขึ้น แล้วเราก็รอดูราคาปิดของแท่งเทียน ถ้าราคาปิดสูงกว่า กึ่งกลางของแท่งก่อนหน้านั้น แล้วเราจึงสินใจ Buy (ในกรณีที่ราคาขึ้นไปชนแนวโน้มขาลง(Resistance Trendline) ก็ทำตรงข้ามกัน)

3.ดู รูปแบบแท่งเทียนควบคู่กับ แนวรับแนวต้านจากราคาในอดีต และ Fibonacci เมื่อราคาแตะแนวรับแนวต้าน ให้เราสังเกตลักษณะแท่งเทียน ถ้าชนแนวเด้ง นั่นหมายความว่า ราคามีโอกาสกลับตัว แต่ถ้าชนแล้วผ่านฉลุย ปล่อยให้ราคามันวิ่งไป อย่าไปแตะมัน


ใครมีข้อสงสัย หรือ อยากให้เพิ่มตรงไหน คอมเม้นด้านล่างได้เลยนะครับ